1. การวางแผนและการวิจัย (Plan and Research)

ไม่ว่าคุณจะเริ่มโครงการใหม่หรือพัฒนาโครงการเก่า สิ่งที่คุณต้องทำคือการวางแผนและการวิจัย เพื่อทำให้ได้รู้แน่ชัดว่าโครงการที่คุณจะทำนั้นคืออะไรและทำไมถึงจะต้องดำเนินการ ที่สำคัญคือคุณต้องการบรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง ขั้นตอนแรกคือกระบวนการพัฒนาที่จะต้องมีการวางแผนและวิจัยที่จะต้องมีรายละเอียดดังนี้

  • ขอบเขตของโครงการ (Scope)
  • เวลาในการพัฒนาโครงการ (Timeline)
  • ทรัพยากรที่จำเป็น (Resource)
  • ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ (Budget)

2. การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Analyze)

เรื่องต่อมาคือการวิเคราะห์ด้านความเป็นไปได้และการตรวจสอบเรื่องข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ โดยคุณจะต้องสำรวจข้อมูลเฉพาะด้านเทคนิคของโครงการให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์ของโครงการและเข้าถึงเป้าหมายได้มากขึ้น เมื่อการสำรวจเป็นไปอย่างละเอียด จะช่วยทำให้การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการพัฒนาซอฟต์แวร์  มีความแม่นยำและมีความรวดเร็วมากขึ้น เพราะคุณจะได้รู้ว่ามีเครื่องมือ, มีการใช้เทคโนโลยี และมีการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมต่อตัวโครงการหรือไม่

3. การออกแบบและสร้างต้นแบบ (Design and Prototype)

การออกแบบและการสร้างต้นแบบของซอฟต์แวร์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ เพราะจะเปรียบเสมือนการร่างโครงสร้าง ของตัวบทความหรือการสร้างเรื่องราวที่จะทำให้คนได้รู้ว่าสิ่งที่คุณต้องการพัฒนานั้น จะออกมาในรูปแบบใด? ซึ่งในระหว่างขั้นตอนการออกแบบ คุณจำเป็นต้องพัฒนาสถาปัตยกรรมด้านภาพและเทคนิคของซอฟต์แวร์ เพื่อให้สามารถใช้งานทั้งใน Mockups หรือ Prototype ได้ แล้วสร้างโครงร่างของ UX เพื่อทำให้ฟังก์ชันการใช้งานของซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. การพัฒนา (Development)

ขั้นตอนของการพัฒนาซอฟต์แวร์จะทำให้งานโปรแกรมเป็นความจริงได้ ทำให้แนวคิดของซอฟต์แวร์เกิดขึ้นจริง เมื่อคุณต้องการเข้าสู่ขั้นตอนพัฒนา คุณจำเป็นที่จะต้องใช้ซอฟต์แวร์ในหลากหลายด้าน ดังนี้ 

  • Pre-alpha เป็นเวอร์ชั่นซอฟต์แวร์ที่เป็นต้นแบบหรือแบบร่าง 
  • เวอร์ชั่น Alpha Software ฉบับร่างแบบคร่าว ๆ ที่จะมีคุณลักษณะระบุไว้ให้คุณได้เห็นอย่างเด่นชัด เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยลดข้อผิดพลาดได้ดี 
  • เวอร์ชั่น Beta จะเป็นการทำให้ซอฟต์แวร์มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นจะเปิดตัวเพื่อใช้งานได้ จะเป็นเพียงแค่การทดสอบ เพื่อทำให้เห็นถึงจุดด้อยหรือจุดบกพร่องต่าง ๆ มากขึ้น 
  • ขั้นตอน Release candidate จะเป็นเวอร์ชั่นของ Beta ที่มีความสมบูรณ์แบบแล้วนำออกมาเผยแพร่ให้กับลูกค้าได้ลองใช้งาน ถือว่าเป็นรุ่นที่มีศักยภาพเพียงพอ จะนำออกมาให้ผู้ใช้งานจริงได้ทดสอบก่อน

5. การประกันคุณภาพ (Warrantee) 

หลังจากที่ Software Version สมบูรณ์แบบของคุณได้ออกวางจำหน่ายแล้ว จะไปสู่ขั้นตอนของการรับประกันคุณภาพ  ซึ่งภายในขั้นตอนนี้ควรจะต้องมีทีม QA หรือทีมประกันคุณภาพ เพื่อทำการทดสอบต่าง ๆ และทำการจำลองการใช้งานซอฟต์แวร์จริง เพื่อทำให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์แบบนี้จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ และช่วยทำให้ลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้จริง หรือถ้าลูกค้ามีปัญหาใด ๆ ทีมประกันคุณภาพจะต้องแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

6. การปรับใช้ซอฟต์แวร์ (Customize)

การปรับใช้ซอฟต์แวร์จะเกิดขึ้น เมื่อมีการปล่อยรุ่นที่มีความเสถียรออกสู่ลูกค้า ไม่ว่าตัวซอฟต์แวร์จะมีความซับซ้อนหรือมีคุณสมบัติพิเศษใด ๆ จะต้องสามารถปรับใช้กับลูกค้าได้ภายในขั้นตอนเดียว แล้วจะต้องใช้ได้แบบอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความผิดพลาด ลดเรื่องค่าใช้จ่ายและเวลาได้มากขึ้น

7. การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Maintenance)

การทำงานของซอฟต์แวร์ไม่เสร็จสิ้นง่าย ๆ ดังนั้นจึงต้องมีขั้นตอนของการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ โดยจะเป็นการรวบรวมและการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ใช้งาน ที่จะถูกนำมาเป็นส่วนสำคัญของการปรับปรุงข้อบกพร่องและทำให้ทีมประกันคุณภาพสามารถเรียนรู้ได้ว่าจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่อาจจะ ตรวจสอบพลาดไปนั้นมีจุดใดบ้าง  ซึ่งส่วนนี้จะช่วยทำให้ซอฟต์แวร์มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้นและพร้อมที่จะประสบความสำเร็จเหนือกว่าคู่แข่ง ทั้งยังช่วยทำให้ลูกค้าพึงพอใจในระยะยาวอีกด้วย

You’re in good company

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์

ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์หรือกลยุทธ์ Outsourcing แบบใด แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและควรปฏิบัติตามในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มีดังนี้

1.ไม่ซับซ้อน

อย่าทำให้ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นซับซ้อนจนเกินไป การทำให้ง่ายเข้าไว้เป็นหนึ่งในกฎพื้นฐานของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะกระบวนการที่ซับซ้อนจะใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง จึงควรหลีกเลี่ยงการทำให้ซับซ้อนมากขึ้น โดยทำให้กระบวนการพัฒนาของคุณไม่ซับซ้อนเกินไปด้วยโปรเจ็กต์ย่อยและแนวทางปฏิบัติที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป

2.ทดสอบทุกอย่าง 

ความผิดพลาดเล็กน้อยในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง ไม่เพียงแต่กับโครงการของคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกิจทั้งหมดของคุณด้วย นี่คือเหตุผลสำคัญที่ต้องทดสอบงานของคุณทุกขั้นตอน การใช้เวลาและทรัพยากรในการทดสอบซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุดที่คุณกำลังพัฒนานั้น สามารถช่วยคุณแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดปัญหาใหญ่ได้ดี

3.รู้ถึงทรัพยากรของคุณ 

ทรัพยากรของคุณจะต้องใช้อย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นจงใช้อย่างเหมาะสม อย่าให้เกินศักยภาพของคุณ การพัฒนาประมาณการตามความเป็นจริงของทรัพยากรที่คุณมีเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้โครงการพัฒนาของคุณลดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นออกจากทีมและจะช่วยให้คุณส่งมอบงานที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้รวดเร็ว

4.กำหนดมาตรฐาน

กำหนดมาตรฐานที่สอดคล้องกันสำหรับทีมของคุณ  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการทุกคนมีความเข้าใจเดียวกันเกี่ยวกับมาตรฐานที่คุณตั้งเป้าไว้กับกระบวนการพัฒนาของคุณหรือไม่? ซึ่งจะช่วยให้การทำงานร่วมกันในทีมของคุณดีขึ้นและจะช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไว้ได้ดีอีกด้วย